16 ธันวาคม, 2552
Reflection of the (Physically) Big Fish
02 พฤศจิกายน, 2552
เช้าวันหนึ่งวันนั้นวันหนึ่งวันนั้นแปดนาฬิกา
เราเองก็คิดถึงฮัลเลย์กับนิวเหมือนกัน อยากให้เรียนจบไวๆ จะได้มาโปกฮาด้วยกันอีก
26 ตุลาคม, 2552
Untweetened tweets I
16 ตุลาคม, 2552
Plan for 2nd Semester
25 กันยายน, 2552
บ่ายแห่งการเรียนรู้
1. ตอนนี้ผมเรียนวิชา SCID518 Generic Skills in Science Research ซึ่งจะมีหัวข้อ Fast Track in Science Databases ให้ได้ลงมือทำกันแบบ Hand-on Workshop แต่ด้วยข้อจำกัดด้านทรัพยากร ทำให้ต้องแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเรียนบ่ายนี้ กลุ่มที่สองเรียนพุธบ่ายหน้า
2. พี่ต๋อย เป็นชื่อที่ผมเรียกเจ้าหน้าที่ที่คอยดูแลและเป็น TA ในรายวิชา SCID5xx ทั้งหลาย
3. พี่สา เป็นชื่อของพี่ที่เรียนป.เอก หลักสูตรพิษวิทยา ที่สนิทกัน
เอาล่ะ จบแล้ว
ต่อไปเป็นการคัดลอกเนื้อหาจากสมุดบันทึกการเดินทางของผมมาใส่ไว้ในนี้ล้วนๆ
---
ตอนนี้นั่งอยู่ในห้อง P114...ในใจกำลังครุกรุ่นไปด้วยความไม่พอใจ...กับการไม่มีที่นั่ง, กับความผิดหวังว่าจะได้นั่งเครื่องคอมพ์ 1 คน/เครื่อง (ก็เพราะจะได้ Tweet, เช็คเมล์. เข้าเว็บบอร์ดไปด้วยระหว่างเรียน...) จากนั้นก็ตามมาด้วยเหตุลและข้อ้อางต่างๆ นาๆ ที่โยนความผิด โยนความรับผิดชอบไปให้สิ่งอื่น เช่น บ่นว่าการจัดการไม่ดี, คนดูแลห่วย, ไม่เอาใจใส่เราเท่าที่ควร...บลาๆๆ จนสุดท้ายก็ต้องออกจากห้องไปเป็นการประชด ประท้วง และดื้อเงียบ ก็เผื่ออะไรๆ จะดีขึ้น...จะได้หาอะไรทำนอกจากมานั่งโกรธอยู่แบบนี้...ก็โอนะ...ได้ไปเจอน้องๆ ได้ไปเอาของให้อ.เอเชีย ก็ทำให้ลืมๆ ไปบ้าง...แต่พี่สาก็โทรเข้ามา ตามกลับไปเข้าเรียน...สุดท้ายก็เข้ามาในห้องอีกครั้ง ตามด้วยการนั่งลงไปกับพื้นอย่างไม่เกรงใจวิทยากรและอ.สรวง ตั้งใจว่าจะไม่เรียน...แต่ก็...
แต่พี่ต๋อยก็เข้ามา...ถามอย่างใจดี ใจเย็น และมีเมตตาว่า "จะเอาเก้าอีกปะ?" มันเหมือนไฟโทสะในใจมันดับลงไปหน่อยนึงน่ะ แล้วพี่ต๋อยก็เข้ามาคุยว่า รอบนี้มีคนจากรอบสองมาเรียนรอบนี้ด้วย...โอ...เราตัดสินคลาสนี้ไปนี่...เราตัดสินไปล่วงหน้าว่าคลาสนี้ไม่ควรมีเพราะ Resource ไม่เพียงพอต่อจำนวนนศ. และบลาๆๆ...ก็เพราะได้พี่ต๋อยแหละที่ทำให้คิดได้ และมองเห็นการตัดสินอันยิ่งใหญ่และใหญ่ยิ่งของเรา มองเห็นความไมรับผิดชอบต่อชีวิตและการเรียนรู้ของตัวเอง (จริงๆ อันนี้ยังไม่ชัดเท่าไหร่...)
ตราบจนชีวิตจะหาไม่ ก็คงต้องเรียนรู้ตัวเองกันต่อไป
20 กันยายน, 2552
ผิดหวังจากความคาดหวัง
05 กันยายน, 2552
เพื่อนเที่ยว
02 กันยายน, 2552
แลลักษณ์ลึงค์: ไยน่าตะลึงนัก?
นักจิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychologist) จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กสามารถตอบคำถามได้แล้วว่า “ทำไมรูปร่างลึงค์จึงเป็นอย่างที่เห็น?”
โดยในขั้นแรก นักวิจัยได้ใช้หลักการให้เหตุผลแบบตรรกนิรนัย (logicodeduction) คือศึกษาเปรียบเทียบในเชิงมองย้อนกลับไปหาต้นตอของสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสายวิวัฒนาการ แล้วสรุปออกมาว่าเพราะเหตุใด “สิ่งนั้น” จึงเป็น “เช่นนี้”?
ในที่นี้นักวิจัยได้ศึกษาเรื่องของรูปร่างลึงค์ จึงเปรียบเทียบลักษณะภายนอกของลึงค์ระหว่างมนุษย์กับไพรเมท (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกลิง เอป และมนุษย์ – ผู้แปล) อื่นๆ พบว่า ลึงค์มนุษย์ที่มีความยาวเฉลี่ย ๕ – ๖ นิ้ว เส้นรอบวงเฉลี่ย ๕ นิ้วนั้น แม้แต่กับชิมแปนซีที่เป็นญาติใกล้ชิดกับเรามากที่สุดในเชิงวิวัฒนาการ ก็ยังมีขนาดที่เล็กกว่าของมนุษย์ และยิ่งถ้าเปรียบเทียบโดยคำนวณเรื่องของขนาดลำตัวและน้ำหนักเข้าไปด้วยแล้ว ขนาดลึงค์ของชิมแปนซีก็เล็กกว่าของมนุษย์ครึ่งหนึ่ง
นอกเหนือไปกว่านั้น ลึงค์ของมนุษย์ยังมีลักษณะอีกอย่างที่ญาติใกล้ชิดของเราไม่มี นั่นคือ บริเวณคอลึงค์ ซึ่งเป็นส่วนที่หัว (glans) มาเชื่อมกับลำลึงค์ (shaft) มีลักษณะคล้ายร่มเห็ด และมีเส้นสองสลึง (frenulum) คอยยึดอยู่ บริเวณคอลึงค์นั้นจะมีลักษณะเป็นสันหยักและแผ่กว้างออกไปรอบวง ทำให้บริเวณนี้มีเส้นรอบวงที่ใหญ่กว่าลำลึงค์ ลักษณะพิเศษที่พบได้แต่ในมนุษย์นี้ ทำให้นักจิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการกลุ่มนี้เชื่อว่า ลักษณะพิเศษนี้น่าจะมีบทบาทสำคัญในเชิงวิวัฒนาการของมนุษย์
เคยมีการศึกษาก่อนหน้านี้ใช้เทคนิคการฉายภาพสั่นพ้องแม่เหล็ก (magnetic resonance imaging: MRI) ถ่ายภาพลักษณะการวางตัวของลึงค์ในช่องคลอดในขณะที่กำลังสอดใส่ พบว่าลึงค์จะขยายตัวและกินพื้นทั้งหมดของช่องคลอด และในบางท่วงท่า (เช่น ท่ามิชชันนารี – ผู้แปล) ลึงค์จะสามารถสอดใส่เข้าไปได้ลึกที่สุด จนชนปากมดลูกเลยทีเดียว และยังมีการศึกษาอีกชิ้นเกี่ยวกับการหลั่งน้ำกาม พบว่าผู้ชายจะสามารถขับน้ำกามออกมาได้ไกลถึง ๒ ฟุต ซึ่งต้องใช้แรงขับมหาศาล หากรวมผลการทดลอง ๒ ชิ้นเข้าด้วยกัน จะสรุปได้ผู้ชายถูกออกแบบมาเพื่อการหลั่งน้ำกามในช่องคลอดให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้
และในปีค.ศ. ๒๐๐๔ คณะวิจัยคณะนี้ได้ตั้งสมมติฐานเพิ่มเติมอีกว่า ขนาดและรูปร่างของลึงค์นอกจากจะมีเพื่อการหลั่งน้ำกามอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถชะน้ำกามของผู้ชายคนก่อนหน้าที่หลั่งอยู่ในช่องคลอดไม่ให้ตกค้างอยู่ในช่องคลอดได้อีกด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเป็นพ่อของลูกที่จะเกิดมานั่นเอง
คณะวิจัยได้ทดลองสมมติฐานนี้โดยอาศัยช่องคลอดเทียม น้ำกามเทียม และลึงค์เทียม ๓ อัน ลึงค์ทั้ง ๓ มีความยาวเท่ากัน ต่างกันที่ขนาดของสันหยักรอบคอ โดยมีความยาวเส้นรอบวงที่เกินมาจากลำลึงค์ ๐.๒, ๐.๑๒, และ ๐ นิ้ว (เป็นกลุ่มควบคุม คือไม่มีสันหยักรอบคอ) ตามลำดับ คณะวิจัยได้ใส่น้ำกามเทียมลงไปในช่องคลอดเทียม และใช้ลึงค์เทียมสอดใส่เข้าไป จากนั้นวัดปริมาณของน้ำกามที่เหลือภายในช่องคลอด ผลการทดลองเป็นตามที่คาด คือ ลึงค์เทียมที่มีสันหยักรอบคอสามารถชะล้างน้ำกามที่ตกค้างอยู่ออกมาได้มากกว่าลึงค์เทียมที่ไม่มีสันหยักรอบคออย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้น คณะวิจัยได้พิสูจน์ความลึกของการสอดใส่ต่อประสิทธิภาพของการชะน้ำกาม พบว่ายิ่งสอดใส่ลึงค์เทียมเข้าไปมากเท่าไหร่ ยิ่งชะน้ำกามออกมาได้มากเท่านั้น
การวิจัยระยะที่สอง คณะวิจัยได้ใช้แบบสอบถามพฤติกรรมของการมีเพศสัมพันธ์และการสอดใส่ในวัยรุ่นที่เรียนอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย พบว่า วัยรุ่น (ทั้ง ๒ เพศ) ที่มีพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ต่อคู่ครอง เพศชายจะสอดใส่ลึกกว่า และด้วยจังหวะที่เร็วกว่า และคู่ครองที่ต้องแยกจากกันไปสักพักแล้วมาพบกันใหม่ จะมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรงและเร่าร้อนมากกว่าคู่ครองที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยกันบ่อยๆ ผลของการตอบแบบสอบถามสามารถอุปมาและสรุปได้ว่า ด้วยความกลัวว่าคู่ครองของตนจะไปมีเพศสัมพันธ์กับชายอื่นในขณะที่ตนไม่ได้อยู่เฝ้า เมื่อกลับมาและมีเพศสัมพันธ์กับคู่ครอง จึงใช้ลึงค์ในฐานะเครื่องมือชะน้ำกามได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าปรกติ (ไม่ว่าจะด้วยจิตใต้สำนึก หรือจิตเหนือสำนึก)
นอกจากนี้ ผู้ชายทุกคนทราบดีว่าหลังจากหลั่งน้ำกามไปแล้ว กลไกทางสรีรวิทยาจะป้องกันไม่ให้ลึงค์กลับมาแข็งตัวใหม่ และการถึงจุดสุดยอดก็ช่วยทำให้หลับสบาย เหตุผลที่ธรรมชาติสรรค์สร้างผู้ชายให้ออกมาเป็นเช่นนี้ ก็เพียงเพราะไม่ต้องการให้มีเพศสัมพันธ์และเกิดการสอดใส่อีกครั้งโดยเร็ว ซึ่งคือการกวาดเอาน้ำกามของตนออกมานั่นเอง
จะเป็นไปได้ไหมที่ผู้หญิงคนหนึ่งตั้งครรภ์ด้วยอสุจิของผู้ชายที่เธอไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ด้วย? – แน่นอนว่าเป็นไปได้ ด้วยสถานการณ์จำลองต่อไปนี้
กล้าไปมีอะไรกับแก้วหลังจากที่เธอเพิ่งไปมีอะไรกับดำ น้ำกามของดำก็จะติดมากับลึงค์ของกล้าที่สอดใส่เข้าไปในช่องคลอดของแก้ว และถ้ากล้ายังไม่ได้ขริบหนังหุ้มปลายออก น้ำกามของดำจะถูกเก็บไว้ภายใต้หนังหุ้มปลาย จากนั้นกล้าก็ไปมีอะไรอีกครั้งกับหญิง ทำให้น้ำกามของดำมีโอกาสส่งผ่านเข้าไปในช่องคลอดของหญิงด้วย...
และแล้วหญิงก็ตั้งท้องด้วยอสุจิของดำ
---
แปลและเรียบเรียงจาก “Secrets of the Phallus: Why Is the Penis Shaped Like That?” นิตยสาร Scientific American เดือนเมษายน ๒๕๕๒
เข้าถึงออนไลน์ได้จาก http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=secrets-of-the-phallus
31 สิงหาคม, 2552
พบสาเหตุของปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลาย
ปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลาย (colony collapse disorder: CCD) คือปรากฏการณ์การหายไปของผึ้งตัวเต็มวัยเกือบทั้งรัง ทิ้งผึ้งราชินีและผึ้งที่ยังไม่โตเต็มวัยที่ต้องการอาหารและการดูแลไว้เพียงลำพัง ความผิดปกตินี้ถูกพบครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. ๒๐๐๖ ในสหรัฐอเมริกา และผึ้งมากกว่า ๒ ใน ๓ ของสหรัฐอเมริกาก็หายไปภายใน ๒ ปี นอกจากนี้ยังพบปรากฏการณ์นี้ในยุโรปตะวันตกและไต้หวันอีกด้วย ผึ้งเป็นผู้ถ่ายละอองเรณู (pollinator) ที่สำคัญซึ่งจะช่วยถ่ายละอองเรณู และทำให้ผลไม้ต่างๆ ติดผล ผึ้งมีส่วนสำคัญในระบบเกษตรกรรมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง ๑๔ พันล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ ล่าสุด นักวิจัยด้านกีฏวิทยาจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยลงในวารสาร “Proceedings of the National Academy of Sciences” (PNAS) ซึ่งเปิดเผยสาเหตุของ CCD จากการศึกษาชีววิทยาระดับโมเลกุลของผึ้ง ผลการศึกษาชี้ชัดว่า ผึ้งที่ตายจาก CCD มีไรโบโซม (ribosome) ที่ผิดปกติไปจากผึ้งปกติ
นักวิจัยได้ใช้เทคนิคไมโครแอเรย์ (microarray) ที่สามารถเปรียบเทียบการแสดงออกของยีนได้คราวละมากๆ เปรียบเทียบการแสดงออกของยีนทั้งจีโนม (genome) ซึ่งสกัดจากเซลล์บริเวณทางเดินอาหารระหว่างผึ้งปกติและผึ้งที่ตายจาก CCD ไม่พบการแสดงออกของยีนที่ตอบสนองต่อยาฆ่าแมลงและยีนที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน แต่กลับพบว่า ไรโบโซมของผึ้งที่ตายจาก CCD แตกหักเสียหายมากกว่าผึ้งปกติอย่างมีนัยสำคัญ
ไรโบโซมเป็นสารชีวโมเลกุลที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการสังเคราะห์โปรตีนภายในเซลล์ ผึ้งที่ไรโบโซมเสียหายและใช้งานไม่ได้ จะไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนเพื่อตอบสนองเพื่อต่อต้านยาฆ่าแมลง การติดเชื้อจุลชีพต่างๆ ภาวะขาดอาหาร และความเครียดอื่นๆ จนนำไปสู่การตายในที่สุด
สาเหตุของการแตกหักของไรโบโซมดังกล่าว คือไวรัสที่มีชื่อว่า Picorna-like Virus (ชื่อตั้งมาจากคำว่า “pico-” ซึ่งหมายถึง “เล็กๆ” กับคำว่า RNA ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ได้จากการถอดรหัสสารพันธุกรรม) ซึ่งจะขโมยไรโบโซมและสารชีวโมเลกุลอื่นๆ ของเจ้าบ้าน (host) ไปใช้ในการผลิตโปรตีนสำหรับการจำลองและแพร่กระจายพันธุ์ของตัวเอง และถ้าผึ้งตัวใดติดเชื้อไวรัสชนิดนี้เป็นจำนวนมากในเวลาเดียวกัน ไรโบโซมของมันจะทำหน้าที่ไม่ไหว และแตกหักเสียหายในที่สุด
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังไม่สามารถหาสาเหตุของการติดเชื้อไวรัสได้
---
แปลและเรียบเรียงจาก:-
http://www.ens-newswire.com/ens/aug2009/2009-08-25-093.asp
http://news.bbc.co.uk/2/hi/science/nature/8219202.stm
27 สิงหาคม, 2552
ภาวะซึมเศร้า: โรคร้ายหรือการปรับตัว
ภาวะซึมเศร้า (depression) เป็นปัญหาร้ายแรงสำหรับคนบางคน จิตแพทย์และนักจิตวิทยามองมันว่าเป็นภาวะที่ส่งผลร้าย แน่นอนว่าภาวะซึมเศร้าสำหรับบางคนอาจทำให้เบื่ออาหาร แยกตัวออกจากสังคม อารมณ์ทางเพศเสื่อมถอย ไม่มีสมาธิและไม่สามารถจดจ่อต่อเนื่องในหน้าที่การงานและวิถีชีวิตตามปกติ และบางคนก็รุนแรงจนถึงขั้นต้องจบชีวิตลงด้วยน้ำมือตนเอง คนจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญภาวะซึมเศร้าและความผิดปกติที่เกิดจากภาวะซึมเศร้าสักครั้งหนึ่งในชีวิต ถ้าภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะที่ส่งผลร้ายตามที่กล่ามาข้างต้น การคัดเลือกตามธรรมชาติก็ควรจะทำให้สมองเราทนทานต่อภาวะนี้ได้ แต่เหตุไฉนรูปการณ์กลับตรงกันข้าม?
หรือภาวะซึมเศร้าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากเรามีอายุมากขึ้น? - ก็ไม่น่าจริง เพราะทั้งเด็กทั้งวัยรุ่นต่างมีประสบการณ์ต่อภาวะนี้ทั้งสิ้น
หรือภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นเพราะความศิวิไลซ์? - ก็ไม่น่าใช่อีก เพราะจากการศึกษาชนเผ่าพื้นเมืองในปารากวัยและแอฟริกาใต้ ซึ่งอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมดั้งเดิมที่บรรพบุรุษเราวิวัฒนาการกันมา ก็พบว่ายังคงประสบกับภาวะนี้
หรือภาวะซึมเศร้าอาจไม่ใ้ช่ภาวะที่ไร้ประโยชน์ แต่กลับมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต?
นักวิจัยประสาทศาสตร์ระดับโมเลกุลได้ศึกษาหน้าที่ของโปรตีน 5HT1a ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณในรูปแบบของสารเคมีในสมองที่ชื่อเซโรโทนิน พบว่าหนูทดลองที่ไม่มีโปรตีนนี้ในสมองตอบสนองต่อความเครียดน้อยลง ซึ่งจะออกมาในรูปแบบของอาการซึมเศร้าที่ลดลงนั่นเอง และเมื่อได้เปรียบเทียบส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้โปรตีนนี้ทำงานได้ระหว่างหนูทดลองกับมนุษย์ พบว่ามีความเหมือนกัน ๙๙% แสดงให้เห็นว่า ธรรมชาติได้คัดเลือกให้โปรตีนนี้ยังคงทำหน้าที่ในการกระตุ้นภาวะซึมเศร้า
แล้วประโยชน์ของภาวะซึมเศร้าล่ะ? แน่นอนว่าคนที่มีภาวะซึมเศร้าจะเคร่งเครียดและคิดจดจ่ออยู่แค่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืออาจเรียกได้ว่าการ "หมักบ่ม" (rumination - รากศัพท์เดียวกับคำว่า ruminant ที่หมายถึง "สัตว์เคี้ยงเอื้อง" ซึ่งจะได้สารอาหารที่ต้องการจากการมหักบ่มอาหารในกระเพาะ) นักวิจัยหลายคณะยังพบว่า ภาวะซึมเศร้าส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของสมอง โดยในช่วงของการวิเคราัะห์ ปัญหาที่ซับซ้อนจะถูกแยกย่อยออกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ แล้วค่อยๆ ถูกนำมาพิจารณาทีละชิ้นๆ ซึ่งแน่นอนว่ามีประสิทธิภาพ และให้ผลที่น่าพึงใจมากกว่าการตัดสินใจอย่างลวกๆ คำอธิบายนี้ถูกยืนยันด้วยคะแนนของแบบทดสอบอัจฉริยะภาพของบุคคลสองกลุ่ม พบว่า กลุ่มบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าระหว่างทำแบบทดสอบจะได้คะแนนดีกว่าในข้อที่มีความซับซ้อน
เราทุกคนต่างรู้ดีว่า ตอนลงมือทำข้อสอบที่ยากๆ เราต้องใช้สมาธิมากขนาดไหน และการไม่ถูกรบกวนก็เป็นสิ่งจำเป็น
จากการศึกษาพบว่า เซลล์ประสาทในสมองส่วนที่มีชื่อว่า Ventrolateral prefrontal cortex (VLPFC) จะต้องถูกกระตุ้น และเกิดศักย์กิริยา (action potential - คำไทยคำนี้ ถ้าไม่ีมีภาษาอังกฤษกำกับ เชื่อว่าร้อยทั้งร้อยไม่มีใครรู้ว่ามันหมายถึง action potential) ตลอดเวลา ซึ่งต้องใช้พลังงานมาก เหมือนรถยนต์เวลาเร่งเครื่องที่กินน้ำมันมากกว่าปกติ ซึ่งถ้าพลังงานไม่เพียงพอก็จะเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายได้ จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า โปรตีน 5HT1a หลังจากที่ได้รับการกระตุ้นจากเซโรโทนินแล้ว มันจะทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวป้อนเชื้อเพลิง ทำให้เซลล์ประสาทใน VLPFC ทำงานได้ตามปกติ และนี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมโปรตีน 5HT1a จึงสำคัญและถูกอนุรักษ์ไว้ในสายวิวัฒนาการ
เมื่อเป็นเช่นนี้ ทุกๆ อย่างก็ดูจะเข้าเค้า อาการที่เกิดจากภาวะซึมเศร้าแท้จริงแล้วช่วยให้เราไม่ถูกรบกวนได้โดยง่าย การแยกตัวออกมาจากสังคมทำให้เราได้มีโอกาสคิดวิเคราัห์ปัญหาคนเดียวเงียบๆ ในขณะที่คนรอบข้างกำลังให้ความสนใจในเืรื่องอื่น การเบื่ออาหารทำให้เราไม่ได้เคี้ยวและใช้ปากมากนัก ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าการเคี้ยวจะไปรบกวนกระบวนการการคิดของสมอง หรือแม้กระทั่งการด้อยสมรรถภาพทางเพศในช่วงที่ซึมเศร้า ก็ทำให้บุคคลผู้นั้นไม่ถูกเบี่ยงเบนไปจากปัญหาที่กำลังวิเคราะห์อยู่
แล้วภาวะซึมเศร้าช่วยทำให้คิดวิเคราะห์ปัญหาได้จริงๆ หรือ? ถ้าภาวะซึมเศร้าส่งผลไม่ดีต่อการแก้ปัญหาจริง กิจกรรมที่ส่งเสริมการหมักบ่ม อย่างเช่นการให้เขียนแสดงความคิดความรู้สึกในช่วงนั้นๆ ออกมา น่าจะทำให้้เราคิดวิเคราัะห์ปัญหาได้ช้าลงกว่าเดิม แต่จากการศึกษาหลายๆ ชิ้นให้ผลตรงกันข้าม การเขียนระบายความรู้สึกออกมาทำให้แก้ปัญหาได้ดีขึ้นกว่าเดิม เพราะคนที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าจะเข้าถึงปัญหาได้มากกว่า หลักฐานอีกกลุ่มแสดงให้เห็นว่า ภาวะซึมเศร้าช่วยทำให้เราแก้ปัญหาทางสังคมที่ตัดสินใจลำบากได้ เช่นภรรยาที่มีลูกกับสามีแล้วไปพบว่าสามีมีชู้ จะทำอย่างไรระหว่างแกล้งทำเป็นไม่สนใจ หรือบังคับให้สามีเลือกระหว่างเธอกับชู้ (ซึ่งแน่นอน...เสี่ยงต่อการถูกทิ้ง) การทดลองบ่งชี้ว่า บุคคลที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าเมื่อเจอปัญหาเช่นนี้จะวิเคราัะห์ปัญหาได้ดีกว่า เพราะจะคำนึงถึงผลดีผลเสียจากตัวเลือกที่มีอยู่ มากกว่าจะตัดสินใจด้วยอารมณ์ชั่ววูบ
เมื่อผลสรุปออกมาเป็นเช่นนี้ การบำบัดบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าควรทำอย่างไร? เมื่อพบว่าภาวะซึมเศร้ามีผลบวกต่อการวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน การบำบัดควรส่งเสริมให้มีการหมักบ่มปัญหาไปในทางที่ถูกที่ควร รวมถึงเข้าไปช่วยตัดสินใจ หรือชี้แนะแนวทางการแก้ปัญหา มากกว่าให้ยา หรือให้การบำบัดที่ไปยับยั้งภาวะซึมเศร้า
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชี้ชัดว่า ภาวะซึมเศร้าไม่ใช่อาการผิดปกติของสมอง หรือสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ แต่กลับเป็นกลไกที่ได้ถูกคัดเลือกไว้ให้ทำหน้าที่อย่างเฉพาะเจาะจง
---
แปลและเรียบเรียงจาก Depression's Evolutionary Roots โดย Paul W. Andrews และ J. Anderson Thomson, Jr. จากนิตยสาร Scientific American
เข้าถึงได้จาก: http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=depressions-evolutionary&page=3
09 สิงหาคม, 2552
Intimacy | Intercourse
02 สิงหาคม, 2552
Happy Friendship Day
Supakij Patthanapitoon
Halley
4 messages
Teerut Piriyapunyaporn 29 July 2009 21:49 To: Halley
Yo!
คะแนน cell science เปนไงบ้างอ่ะ..
แอบเป็นห่วงเพราะชวนโดดไปสอนตั้ง ๒ ครั้ง
นุ้ก :-)
--
Teerut Piriyapunyaporn, Undergraduate
Department of Biology, Faculty of Science, Mahidol University
Rama VI Rd. Rachathewi, Bangkok 10400 Thailand
Halley 29 July 2009 21:51 To: Teerut Piriyapunyaporn
ออน Gmail Talk จะคุยกันง่ายกว่ามั้ยอะ - -" Halley2009/7/29 Teerut Piriyapunyaporn <nooock@gmail.com>[Quoted text hidden]
--
Supakij Patthanapitoon
Ph.D. student in Molecular Medicine
Faculty of Science, Mahidol University
272, Rama VI Rd. Rachathewi, Bangkok 10400 Thailand
Teerut Piriyapunyaporn 29 July 2009 22:05 To: Halley
ออนไม่สะดวกอ่ะ เนตไม่แรง [Quoted text hidden]--[Quoted text hidden]
Halley 29 July 2009 22:50 To: Teerut Piriyapunyaporn
ปฐมลิขิต - เราเริ่มพิมพ์เมล์นี้ตอนประมาณ 4 ทุ่ม...ตอบผ่านทางนี้ก็ล่ายคะแนน Cell Science ก็เป็นคะแนน Cell Scienceอ๊ะ กวนตรีนไปมั้ยคะแนนที่ออกมาก็เป็นในส่วนที่สอบไปเมื่อวันที่ 15 ก.ค. ซึ่งก็ออกมาแค่ในส่วนของอาจารย์ ที่สอน 3 ท่าน (จากทั้งหมด 6 ท่านในครึ่งแรกของคอร์ส) - Molecular Trafficking ได้ 15 จาก 20 (mean = 12.7)- Membrane and Its Regulatory Function: Membrane Potential and Transport ได้ 13 จาก 20 (mean = 12.0)- Cell Interaction and Communication ได้ 18 จาก 20 (mean = 13.4)จะเห็นว่าที่ร้ายแรงหน่อยคือสองส่วนแรก ซึ่งเป็นอัตนัย คะแนนส่วนที่สองนี่...วันนี้ไปถามมะเหมี่ยวมา มะเหมี่ยวเองก็ตกมีนไป 1 คะแนน! พริกได้เกินมีนมา 2 คะแนน!ก็...ไม่รู้สิ อาจารย์นทีทิพย์ตรวจข้อสอบโหดมั้ง...ทั้งๆ ที่้ข้อสอบก็ไม่ได้ยากนะ เราว่าเราก็ทำได้หมด - -" (ตัวอย่างข้อสอบก็อธิบายว่าในช่ วงที่เกิด Action potential พวก Ion channels มันเปิด ปิด ยังไง มีผลต่อ Membrane potential ยังไง แล้วก็ให้อธิบายว่า Refractory period เกิดจากอะไร ซึ่งเราอธิบายละเอียดกว่าที่ อาจารย์สอนในห้องอีกนะ - -") ส่วนที่ 3 ที่ได้ 18 คะแนนเพราะเป็นปรนัย จำเอาล้วนๆ~100% ของคะแนนวิชานี้ นอกจากสอบแล้วยังมีได้มาจาก Conference และการเข้าฟัง Special Lecture อีกส่วนเรื่องไปจุฬาฯ...เราไปครั้งแรกวันที่ 14 ซึ่งเป็นวันที่เค้าหยุดให้อ่ านหนังสืออยู่แล้ว ครั้งที่สองก็วันที่ 21 ซึ่งชนกับเรื่อง Cell-microbe interaction กับ Immune response (สอบวันที่ 3 สิงหานี้) ซึ่งก็ไม่มีปัญหาอะไรอะ สองเรื่องนี้ ขำๆ (ขำออกหรือขำไม่ออก เดี๋ยวก็รู้กัน :p)ก็...ขอบคุณมากเลยที่เป็นห่วงเราไม่เป็นอะไรมากหรอก แรกๆ พอเห็นคะแนนก็ช็อกไปตามประสา ช่วง 2 ปีหลังของชีวิตมันได้คะแนนเยอะๆ มาซะจนเคยตัวอะ พอมาเจอคะแนนเกาะมีนอีกครั้งนึงก็ตกใจ แต่พอได้สติก็ไม่เป็นไร มันก็คงมีที่มาที่ไปสักอย่าง หรือหลายอย่างแหละที่ทำให้ได้คะแนนเท่านี้ การไปจุฬาฯ ครั้งสองครั้งไม่ใช่ปัจจัยหลั กที่ทำให้เราคะแนนต่ำขนาดนี้ กลับกัน เรารู้สึกดีมากที่ได้ไปจุฬาฯ และรู้สึกขอบคุณนุ้กกับนนมากที่ให้โอกาส ให้เราได้รู้จัก Neuroscience และโลกของจิตวิทยามากขึ้นไปอี กนิด แถมยังได้รู้จักกับอาจารย์น้อง ได้เปิดโลกของเราให้กว้างขึ้ นไปอีก แล้วก็ขอบคุณมากที่...ภาษาแลนด์มาร์กใช้คำว่า "แบ่งปัน" การสอนให้กับเรา ให้เราได้มีโอกาสสอนวิทยาศาสตร์ ให้กับกลุ่มผู้เรียนที่มีทั้ งคนที่สนใจและไม่สนใจวิ ทยาศาสตร์ปนๆ กันไป ซึ่งก็เป็นอะไรที่ท้าทายไปอี กแบบ และได้ออกจากพื้นที่คุ้นชิน ที่แต่เดิมได้แต่สอนในสิ่งที่ อยู่ใน Campbell มาสอนเรื่องที่เราเองก็ไม่ได้มี ความรู้มากมายนัก ก็เป็นอีกครั้งที่เราได้นุ้กดึ งออกมาทำอะไรๆ ที่ไม่เคยทำ เราไม่เคยเสียใจที่ได้ไปจุฬาฯได้คะแนน Cell Science ไม่ดี อย่างร้ายแรงที่สุดก็แค่ Regradeแต่ถ้าไม่ได้ไปจุฬาฯ ก็คือไม่ได้ไปจุฬาฯ และเราคงนึกเสียใจถ้าไม่ได้ไปจุฬาฯ ไม่ได้ใช้ชีวิตให้คุ้มค่า ไม่ได้ฉกฉวยวันเวลาอันมีค่านี้ เอาไว้ สำหรับเรา มันคงน่าเบื่อน่าดูที่จะต้องมานั่งอ่านหนังสือสอบในวันที่ 14 และนั่งเรียน Immune ในวันที่ 21 ไปเปิดโลก เปิดกะลาที่ครอบเราไว้ มันน่าสนุกกว่ากันเป็นไหนๆ :)Halleyป.ล.1 ไหนๆ ก็ไหนๆ ขอบคุณอีกสองเรื่องได้มะ? ขอบคุณมากเลยที่กลับจากสุวรรณภูมิเป็นเพื่อนเรา (เมื่อวันที่ไปส่งนน) และนั่งรถตู้กลับจากเพชรบุรีเป็ นเพื่อนเรา (เมื่อวันที่ไป Survey ค่ายรับน้อง) นุ้กอาจคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับเรา มันโคตรยิ่งใหญ่และมี ความหมายมาก ป.ล.2 ตอบยาวอีกละ - -"ป.ล.3 คนเลือดกรุ๊ปบี: ถ้าให้พูดต่อหน้าจะติดๆ ขัดๆ แต่ถ้าให้เขียนจดหมายหรืออีเมล์จะซึ่งกินใจ ป.ล.4 หวังว่าคงไม่ได้รออ่านเมล์นี้อยู่หรอกนะ ถ้ารออยู่ก็ขอโทษทีที่ทำให้ นอนดึก - -
08 พฤษภาคม, 2552
Trust
04 พฤษภาคม, 2552
เคียงบ่าเคียงไหล่
12 เมษายน, 2552
ฝัน
09 เมษายน, 2552
วันวุ่นวาย
ใส่เสื้อเหลืองมาคณะในวันที่เสื้อแดงบุกกระทรวงการต่างประเทศ
Red-shirted demonstrator close the Victory Monument, and more streets. Pls check before leaving or going out. May we all have a mindful day! Take care! :-)
สวัสดีฮัลเลย์
ฮัลเลย์นั่นแหละ เป็นยังไงบ้าง!
01 เมษายน, 2552
Inter-time zone-ism
29 มีนาคม, 2552
Be Part
"ท้ายที่สุดแล้ว การเดินทางของแต่ละคนก็โดดเดี่ยวจริงๆ"
"You will finally realize that you are walking alone, if you know this, ...will you continue your journey?"
28 มีนาคม, 2552
ทัน!
27 มีนาคม, 2552
At the Airport Episode II: นางนวล
ขอบทะเลเงินยวง โผบินนางนวลหากลัวคลื่นลม กระหน่ำปีกกระพือบินไป หนทางกว้างไกลหาเคยจำผิด ทิศทาง
โบกบินเทียมฟ้า ได้มองลับตาเจ้านั้นใฝ่หา วิถีทาง
ฉันตั้งใจ จะเอาเยี่ยงอย่างท้าทายยืนหยัด อย่างทรนง
21 มีนาคม, 2552
(ไม่มีชื่อเรื่อง...)
04 มีนาคม, 2552
เพื่อนตาย - เงื่อนตาย
เจอกวีบทนี้ในหนังสือ "อำลาศาลายา" ของปีนี้
ชอบจัง...ชอบตั้งแต่แรกอ่าน
รู้สึกเป็นปมที่ผูกเอาคำต่างๆ ที่เห็นแล้วโดนๆ มาไว้ด้วยกันได้อย่างสวยงาม
แม้อาจไม่สวยงามในด้านฉันทลักษณ์
แต่สำหรับฉันแล้ว...ความเป็นเพื่อน เงื่อนตาย เพื่อนรัก รักเพื่อน เงื่อนรัก รักโดยไม่มีเงื่อนไข เมื่อมันมาอยู่รวมกัน แล้วโผล่ปรากฏ (emerge) ขึ้นมาในความหมายใหม่นี้ ชอบแฮะ
สำหรับฉันแล้ว เป็นการยากที่จะเปิด
ทั้งเปิดตัวเอง เผยตัวเองออกมาให้คนอื่นเห็น
และเปิดใจรับความเป็นเพื่อนจากคนอื่นๆ
แต่เมื่อฉันได้ตกลงปลงใจที่จะเปิดรับใครสักคนหนึ่งในชีวิตเข้ามาเป็นเพื่อน
ประตูบานนั้นก็จะไม่เคยปิดลง มีแต่นับวันจะเปิดกว้างขึ้น
ก็คงเหมือนเงื่อนตายกระมัง
ที่เมื่อได้ผูกแล้ว จะปลดออกก็ใช่ว่าจะทำได้โดยง่าย มีแต่จะยิ่งพันกันยุ่งเหยิงอิรุงตุงนังมากยิ่งขึ้น
ฉันเปิดประตูใจให้เพื่อนเข้ามามีบทบาทต่อฉันมากขึ้น
มากจน...สำหรับเพื่อนบางคน ฉันคิดว่า ฉันสามารถตายแทนได้ โดยไม่เสียดายชีวิต
มากไปไหม?
ก็เคยคิดนะ แต่ฉันเชื่อใจ ไว้ใจ และมั่นใจมากว่า สำหรับเพื่อนที่ฉันจะตายแทนได้นั้น
เขา/เธอจะต้องเติบโตต่อไปทำอะไรดีๆ ให้กับสังคม โลก และจักรวาลนี้ได้
ซึ่งมันก็คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้ม ระหว่างชีวิตฉันหนึ่งชีวิต กับความจริง/ดี/งาม ที่เขา/เธอ จะทำให้มันเหิดขึ้นต่อไปในภายภาคหน้า
จบกันซึ้งๆ ซึ่งๆ หน้าแบบนี้เลยละกันเนาะ :)
11 กุมภาพันธ์, 2552
ฝัน
แม้แค่ในฝันก็ยังดี