31 สิงหาคม, 2552

พบสาเหตุของปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลาย

ปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลาย (colony collapse disorder: CCD) คือปรากฏการณ์การหายไปของผึ้งตัวเต็มวัยเกือบทั้งรัง ทิ้งผึ้งราชินีและผึ้งที่ยังไม่โตเต็มวัยที่ต้องการอาหารและการดูแลไว้เพียงลำพัง ความผิดปกตินี้ถูกพบครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. ๒๐๐๖ ในสหรัฐอเมริกา และผึ้งมากกว่า ๒ ใน ๓ ของสหรัฐอเมริกาก็หายไปภายใน ๒ ปี นอกจากนี้ยังพบปรากฏการณ์นี้ในยุโรปตะวันตกและไต้หวันอีกด้วย ผึ้งเป็นผู้ถ่ายละอองเรณู (pollinator) ที่สำคัญซึ่งจะช่วยถ่ายละอองเรณู และทำให้ผลไม้ต่างๆ ติดผล ผึ้งมีส่วนสำคัญในระบบเกษตรกรรมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง ๑๔ พันล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ ล่าสุด นักวิจัยด้านกีฏวิทยาจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยลงในวารสาร “Proceedings of the National Academy of Sciences” (PNAS) ซึ่งเปิดเผยสาเหตุของ CCD จากการศึกษาชีววิทยาระดับโมเลกุลของผึ้ง ผลการศึกษาชี้ชัดว่า ผึ้งที่ตายจาก CCD มีไรโบโซม (ribosome) ที่ผิดปกติไปจากผึ้งปกติ

นักวิจัยได้ใช้เทคนิคไมโครแอเรย์ (microarray) ที่สามารถเปรียบเทียบการแสดงออกของยีนได้คราวละมากๆ เปรียบเทียบการแสดงออกของยีนทั้งจีโนม (genome) ซึ่งสกัดจากเซลล์บริเวณทางเดินอาหารระหว่างผึ้งปกติและผึ้งที่ตายจาก CCD ไม่พบการแสดงออกของยีนที่ตอบสนองต่อยาฆ่าแมลงและยีนที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน แต่กลับพบว่า ไรโบโซมของผึ้งที่ตายจาก CCD แตกหักเสียหายมากกว่าผึ้งปกติอย่างมีนัยสำคัญ

ไรโบโซมเป็นสารชีวโมเลกุลที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการสังเคราะห์โปรตีนภายในเซลล์ ผึ้งที่ไรโบโซมเสียหายและใช้งานไม่ได้ จะไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนเพื่อตอบสนองเพื่อต่อต้านยาฆ่าแมลง การติดเชื้อจุลชีพต่างๆ ภาวะขาดอาหาร และความเครียดอื่นๆ จนนำไปสู่การตายในที่สุด

สาเหตุของการแตกหักของไรโบโซมดังกล่าว คือไวรัสที่มีชื่อว่า Picorna-like Virus (ชื่อตั้งมาจากคำว่า “pico-” ซึ่งหมายถึง “เล็กๆ” กับคำว่า RNA ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ได้จากการถอดรหัสสารพันธุกรรม) ซึ่งจะขโมยไรโบโซมและสารชีวโมเลกุลอื่นๆ ของเจ้าบ้าน (host) ไปใช้ในการผลิตโปรตีนสำหรับการจำลองและแพร่กระจายพันธุ์ของตัวเอง และถ้าผึ้งตัวใดติดเชื้อไวรัสชนิดนี้เป็นจำนวนมากในเวลาเดียวกัน ไรโบโซมของมันจะทำหน้าที่ไม่ไหว และแตกหักเสียหายในที่สุด

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังไม่สามารถหาสาเหตุของการติดเชื้อไวรัสได้

---

แปลและเรียบเรียงจาก:-

http://www.ens-newswire.com/ens/aug2009/2009-08-25-093.asp

http://news.bbc.co.uk/2/hi/science/nature/8219202.stm

27 สิงหาคม, 2552

ภาวะซึมเศร้า: โรคร้ายหรือการปรับตัว

ภาวะซึมเศร้า (depression) เป็นปัญหาร้ายแรงสำหรับคนบางคน จิตแพทย์และนักจิตวิทยามองมันว่าเป็นภาวะที่ส่งผลร้าย แน่นอนว่าภาวะซึมเศร้าสำหรับบางคนอาจทำให้เบื่ออาหาร แยกตัวออกจากสังคม อารมณ์ทางเพศเสื่อมถอย ไม่มีสมาธิและไม่สามารถจดจ่อต่อเนื่องในหน้าที่การงานและวิถีชีวิตตามปกติ และบางคนก็รุนแรงจนถึงขั้นต้องจบชีวิตลงด้วยน้ำมือตนเอง คนจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญภาวะซึมเศร้าและความผิดปกติที่เกิดจากภาวะซึมเศร้าสักครั้งหนึ่งในชีวิต ถ้าภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะที่ส่งผลร้ายตามที่กล่ามาข้างต้น การคัดเลือกตามธรรมชาติก็ควรจะทำให้สมองเราทนทานต่อภาวะนี้ได้ แต่เหตุไฉนรูปการณ์กลับตรงกันข้าม?

หรือภาวะซึมเศร้าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากเรามีอายุมากขึ้น? - ก็ไม่น่าจริง เพราะทั้งเด็กทั้งวัยรุ่นต่างมีประสบการณ์ต่อภาวะนี้ทั้งสิ้น

หรือภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นเพราะความศิวิไลซ์? - ก็ไม่น่าใช่อีก เพราะจากการศึกษาชนเผ่าพื้นเมืองในปารากวัยและแอฟริกาใต้ ซึ่งอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมดั้งเดิมที่บรรพบุรุษเราวิวัฒนาการกันมา ก็พบว่ายังคงประสบกับภาวะนี้

หรือภาวะซึมเศร้าอาจไม่ใ้ช่ภาวะที่ไร้ประโยชน์ แต่กลับมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต?

นักวิจัยประสาทศาสตร์ระดับโมเลกุลได้ศึกษาหน้าที่ของโปรตีน 5HT1a ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณในรูปแบบของสารเคมีในสมองที่ชื่อเซโรโทนิน พบว่าหนูทดลองที่ไม่มีโปรตีนนี้ในสมองตอบสนองต่อความเครียดน้อยลง ซึ่งจะออกมาในรูปแบบของอาการซึมเศร้าที่ลดลงนั่นเอง และเมื่อได้เปรียบเทียบส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้โปรตีนนี้ทำงานได้ระหว่างหนูทดลองกับมนุษย์ พบว่ามีความเหมือนกัน ๙๙% แสดงให้เห็นว่า ธรรมชาติได้คัดเลือกให้โปรตีนนี้ยังคงทำหน้าที่ในการกระตุ้นภาวะซึมเศร้า

แล้วประโยชน์ของภาวะซึมเศร้าล่ะ? แน่นอนว่าคนที่มีภาวะซึมเศร้าจะเคร่งเครียดและคิดจดจ่ออยู่แค่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืออาจเรียกได้ว่าการ "หมักบ่ม" (rumination - รากศัพท์เดียวกับคำว่า ruminant ที่หมายถึง "สัตว์เคี้ยงเอื้อง" ซึ่งจะได้สารอาหารที่ต้องการจากการมหักบ่มอาหารในกระเพาะ) นักวิจัยหลายคณะยังพบว่า ภาวะซึมเศร้าส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของสมอง โดยในช่วงของการวิเคราัะห์ ปัญหาที่ซับซ้อนจะถูกแยกย่อยออกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ แล้วค่อยๆ ถูกนำมาพิจารณาทีละชิ้นๆ ซึ่งแน่นอนว่ามีประสิทธิภาพ และให้ผลที่น่าพึงใจมากกว่าการตัดสินใจอย่างลวกๆ คำอธิบายนี้ถูกยืนยันด้วยคะแนนของแบบทดสอบอัจฉริยะภาพของบุคคลสองกลุ่ม พบว่า กลุ่มบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าระหว่างทำแบบทดสอบจะได้คะแนนดีกว่าในข้อที่มีความซับซ้อน

เราทุกคนต่างรู้ดีว่า ตอนลงมือทำข้อสอบที่ยากๆ เราต้องใช้สมาธิมากขนาดไหน และการไม่ถูกรบกวนก็เป็นสิ่งจำเป็น

จากการศึกษาพบว่า เซลล์ประสาทในสมองส่วนที่มีชื่อว่า Ventrolateral prefrontal cortex (VLPFC) จะต้องถูกกระตุ้น และเกิดศักย์กิริยา (action potential - คำไทยคำนี้ ถ้าไม่ีมีภาษาอังกฤษกำกับ เชื่อว่าร้อยทั้งร้อยไม่มีใครรู้ว่ามันหมายถึง action potential) ตลอดเวลา ซึ่งต้องใช้พลังงานมาก เหมือนรถยนต์เวลาเร่งเครื่องที่กินน้ำมันมากกว่าปกติ ซึ่งถ้าพลังงานไม่เพียงพอก็จะเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายได้ จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า โปรตีน 5HT1a หลังจากที่ได้รับการกระตุ้นจากเซโรโทนินแล้ว มันจะทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวป้อนเชื้อเพลิง ทำให้เซลล์ประสาทใน VLPFC ทำงานได้ตามปกติ และนี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมโปรตีน 5HT1a จึงสำคัญและถูกอนุรักษ์ไว้ในสายวิวัฒนาการ

เมื่อเป็นเช่นนี้ ทุกๆ อย่างก็ดูจะเข้าเค้า อาการที่เกิดจากภาวะซึมเศร้าแท้จริงแล้วช่วยให้เราไม่ถูกรบกวนได้โดยง่าย การแยกตัวออกมาจากสังคมทำให้เราได้มีโอกาสคิดวิเคราัห์ปัญหาคนเดียวเงียบๆ ในขณะที่คนรอบข้างกำลังให้ความสนใจในเืรื่องอื่น การเบื่ออาหารทำให้เราไม่ได้เคี้ยวและใช้ปากมากนัก ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าการเคี้ยวจะไปรบกวนกระบวนการการคิดของสมอง หรือแม้กระทั่งการด้อยสมรรถภาพทางเพศในช่วงที่ซึมเศร้า ก็ทำให้บุคคลผู้นั้นไม่ถูกเบี่ยงเบนไปจากปัญหาที่กำลังวิเคราะห์อยู่


แล้วภาวะซึมเศร้าช่วยทำให้คิดวิเคราะห์ปัญหาได้จริงๆ หรือ? ถ้าภาวะซึมเศร้าส่งผลไม่ดีต่อการแก้ปัญหาจริง กิจกรรมที่ส่งเสริมการหมักบ่ม อย่างเช่นการให้เขียนแสดงความคิดความรู้สึกในช่วงนั้นๆ ออกมา น่าจะทำให้้เราคิดวิเคราัะห์ปัญหาได้ช้าลงกว่าเดิม แต่จากการศึกษาหลายๆ ชิ้นให้ผลตรงกันข้าม การเขียนระบายความรู้สึกออกมาทำให้แก้ปัญหาได้ดีขึ้นกว่าเดิม เพราะคนที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าจะเข้าถึงปัญหาได้มากกว่า หลักฐานอีกกลุ่มแสดงให้เห็นว่า ภาวะซึมเศร้าช่วยทำให้เราแก้ปัญหาทางสังคมที่ตัดสินใจลำบากได้ เช่นภรรยาที่มีลูกกับสามีแล้วไปพบว่าสามีมีชู้ จะทำอย่างไรระหว่างแกล้งทำเป็นไม่สนใจ หรือบังคับให้สามีเลือกระหว่างเธอกับชู้ (ซึ่งแน่นอน...เสี่ยงต่อการถูกทิ้ง) การทดลองบ่งชี้ว่า บุคคลที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าเมื่อเจอปัญหาเช่นนี้จะวิเคราัะห์ปัญหาได้ดีกว่า เพราะจะคำนึงถึงผลดีผลเสียจากตัวเลือกที่มีอยู่ มากกว่าจะตัดสินใจด้วยอารมณ์ชั่ววูบ

เมื่อผลสรุปออกมาเป็นเช่นนี้ การบำบัดบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าควรทำอย่างไร? เมื่อพบว่าภาวะซึมเศร้ามีผลบวกต่อการวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน การบำบัดควรส่งเสริมให้มีการหมักบ่มปัญหาไปในทางที่ถูกที่ควร รวมถึงเข้าไปช่วยตัดสินใจ หรือชี้แนะแนวทางการแก้ปัญหา มากกว่าให้ยา หรือให้การบำบัดที่ไปยับยั้งภาวะซึมเศร้า

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชี้ชัดว่า ภาวะซึมเศร้าไม่ใช่อาการผิดปกติของสมอง หรือสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ แต่กลับเป็นกลไกที่ได้ถูกคัดเลือกไว้ให้ทำหน้าที่อย่างเฉพาะเจาะจง


---

แปลและเรียบเรียงจาก Depression's Evolutionary Roots โดย Paul W. Andrews และ J. Anderson Thomson, Jr. จากนิตยสาร Scientific American

เข้าถึงได้จาก: http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=depressions-evolutionary&page=3

09 สิงหาคม, 2552

Intimacy | Intercourse

ไม่มีอะไรมากหรอก แค่ตอนนี้อายุ 22 แ้ล้ว และช่วงนี้ก็เจอญาติๆ บ่อยๆ
ก็เจอคำถามที่เกี่ยวข้องกับชีวิตอีก Phase นึงเข้ามาบ่อยๆ

เช่นเรื่องว่า จะแต่่งงานเมื่อไหร่ มีแฟนรึยัง ฯลฯ

แล้วก็เคยโดนถามพร้อมๆ กับเอก โดยพริก ว่า คิดจะแต่งงานกันมั้ย แต่งตอนอายุเท่าไหร่ ทำไมถึงอยากแต่ง

แล้วก็ได้ฟังน้องในภาคคนหนึ่งพูดเรื่องความรักของตัวเองให้ฟัง ซึ่งเป็นการพูดคุยที่เปลือย สด และเปราะบางมาก (ชุดคำพวกนี้ติดมาจากสังฆะที่เราเป็นส่วนหนึ่งอยู่)
ในขณะที่เราเองก็ยังไม่มีโอกาสได้เปราะบางกับเธอเท่าไหร่

ก็...อืม...ช่วงนี้ก็คิดบ่อยขึ้น (แต่ก็ไม่ได้บ่อยมากเท่า "วันนี้จะกินอะไรดี") นะ เกี่ยวกับภาะวะการมีความสัมพันธ์ หรือการสร้างความสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม ซึ่งจะพัฒนาไปเป็น "คู่ชีวิต" และ "เพื่อนชีวิต" ได้ในบั้นปลายชีวิต

ก็...ก็ยังไม่ได้คิดเรื่องแต่งงานจริงๆ นั่นแหละ
เพราะแค่มีแฟนยังไม่เคยมีเลย

เพราะแค่ลงมือจีบยังไม่เคย (กล้า) คิดเลย

ไม่รู้ว่าคนที่มีภาวะอ้วนคนอื่นๆ จะคิดเหมือนกันป่าว
แต่จากการได้คุยกับน้องคนนึง ซึ่งรูปร่างถูกจัดให้อยู่ในประเภทเดียวกัน คือไม่ใช่พวกที่เรียกว่า "หุ่นดี" "รูปร่างดี" หรือ "หน้าตาดี"
ก็พบถึงความเป็นชนกลุ่มน้อย (Minority) เหมือนๆ กัน

คือมันไม่กล้าน่ะ
ขืนลงมือจีบไป มีแต่จะผิดหวังเอาได้น่ะสิ

และรวมไปถึงการคิดว่า ไม่กล้าคิดว่าตนเองเป็นคนสำคัญ จะได้รับความสำคัญ และการเข้าไปอยู่ในใจ ในส่วนหนึ่งของคนด้วย

ก็เป็นที่มาที่ไปว่า ทำไมเราถึงซึ้งใจกับเรื่องบางเรื่องที่อาจจะดูเล็กๆ น้อยๆ มากมายนัก

อะ...เผลอนอกเรื่องไปถึง Minority ซะแล้ว

มาเข้าสู่คำที่สองชื่อบล็อกนี้เลยดีกว่า
ไม่มีไรมาก คือคำนี้โผล่ขึ้นมาตอนที่คิดถึงการมีคู่ และการแต่งงานน่ะ

โดยเฉพาะตอนที่พริกถามน่ะ...
"ส่วนหนึ่งของการอยากแต่งงานคือ อยาก Intercourse ครั้งแรกกับคนที่เรารักจริงๆ" (และเร็วๆ ด้วย (Masturbate คนเดียวจนเบื่อแล้ว))
"อยากทำให้เธอมีความสุข สุขหลายๆ ครั้งในหนึ่งคืนเลยด้วย"
ก็อยากตอบพริกไปอย่างนั้น แต่ก็ไม่ได้บอก :p

ส่วนหนึ่งก็อยากมี Intimacy กับใครสักคนที่แทบจะเรียกได้ว่า สนิทที่สุดในชีวิต จนถึงขั้นที่จะ Intercourse กันได้น่ะ

...ไม่รู้จะบ่นอะไรต่อละ 555+

ฟุ้งซ่านเนาะ ไปนอนละดีกว่า

02 สิงหาคม, 2552

Happy Friendship Day

เพิ่งรู้ว่าวันนี้เป็นวันมิตรภาพ (Friendship Day)

ก็จะขออุทิศพื้นที่ส่วนหนึ่งของบล็อกนี้ให้กับมิตรภาพ

ก็...ความรู้สึก "ซึ้งใจ" ที่เกิดขึ้นล่าสุดในชีวิต มีต้นเหตุจากเมล์ที่ Copy มาให้ได้อ่านกัน

ต้นเหตุของเมล์นี้ เนื่องมาจากการชวนไปเข้าร่วมชั้นเรียนวิชา Biopsychology ของนิสิตชั้นปีที่ 3 คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชานี้ นนท์ (เพื่อนนุ้ก ที่ตอนหลังกลายมาเป็นเพื่อนผมด้วยอีกคน) ได้รับโอกาสจากอ.น้อง (ผู้รับผิดชอบรายวิชา) ให้เข้ามาจัดการเรียนการสอน 2 คาบ คาบละ 4 ชั่วโมง
นนท์ชวนนุ้กไปพูดเรื่องงานวิจัยที่ได้ไปทำมาที่ Queensland Brain Institute, University of Queensland, Australia เป็นเวลา 3 เดือนในคาบแรก
แล้วนุ้กก็ชวนผมเข้าไปฟังด้วย

เช้าตรู่ของวันที่ 14 ก.ค. ระหว่างการเดินทางบนรถไฟฟ้า ผมจำได้ดีว่านุ้กก็ออกปากชวนให้ผมได้มีโอกาสไปสอนนิสิตด้วย
ทำให้วันที่ 21 ก.ค. ผมก็จำต้องเดินทางไปจุฬาฯ อีกครั้ง

15 ก.ค. ผมมีสอบครั้งที่ 1 ของวิชา SCID502 Cell Science
การสอบผ่านพ้นไป
การสอนก็ผ่านพ้นไป

คะแนนสอบส่วนหนึ่งที่ประกาศออกมา ไม่สู้ดีนัก (เมื่อเทียบกับผลการเรียนตอนปี 3-4)
ผมอัพเดทชีวิตตัวเอง ความรู้สึกของตัวเอง ผ่าน Twitter ตามปกติ ตามนี้:

คะแนนวิชา Cell Science ส่วนหนึ่งออกมาแล้ว...ช็อกเล็กน้อย...อืม นี่เราเรียนไม่ไหวเหรอ?

กลางดึกวันต่อมา ผมได้รับเมล์นี้ และตอบกลับเมล์นี้ และเป็นที่มาของความ "ซึ้งใจ" ล่าสุดในชีวิตผม

GmailSupakij Patthanapitoon

Halley
4 messages
Teerut Piriyapunyaporn 29 July 2009 21:49
To: Halley
Yo!
คะแนน cell science เปนไงบ้างอ่ะ..
แอบเป็นห่วงเพราะชวนโดดไปสอนตั้ง ๒ ครั้ง

นุ้ก :-)

--
Teerut Piriyapunyaporn, Undergraduate
Department of Biology, Faculty of Science, Mahidol University
Rama VI Rd. Rachathewi, Bangkok 10400 Thailand

Halley 29 July 2009 21:51
To: Teerut Piriyapunyaporn
ออน Gmail Talk จะคุยกันง่ายกว่ามั้ยอะ - -"

Halley

2009/7/29 Teerut Piriyapunyaporn <nooock@gmail.com>
[Quoted text hidden]



--
Supakij Patthanapitoon
Ph.D. student in Molecular Medicine
Faculty of Science, Mahidol University
272, Rama VI Rd. Rachathewi, Bangkok 10400 Thailand


Teerut Piriyapunyaporn 29 July 2009 22:05
To: Halley
ออนไม่สะดวกอ่ะ เนตไม่แรง
[Quoted text hidden]
--
[Quoted text hidden]

Halley 29 July 2009 22:50
To: Teerut Piriyapunyaporn
ปฐมลิขิต - เราเริ่มพิมพ์เมล์นี้ตอนประมาณ 4 ทุ่ม...

ตอบผ่านทางนี้ก็ล่าย

คะแนน Cell Science ก็เป็นคะแนน Cell Science
อ๊ะ กวนตรีนไปมั้ย

คะแนนที่ออกมาก็เป็นในส่วนที่สอบไปเมื่อวันที่ 15 ก.ค. ซึ่งก็ออกมาแค่ในส่วนของอาจารย์ที่สอน 3 ท่าน (จากทั้งหมด 6 ท่านในครึ่งแรกของคอร์ส)
- Molecular Trafficking ได้ 15 จาก 20 (mean = 12.7)
- Membrane and Its Regulatory Function: Membrane Potential and Transport ได้ 13 จาก 20 (mean = 12.0)
- Cell Interaction and Communication ได้ 18 จาก 20 (mean = 13.4)

จะเห็นว่าที่ร้ายแรงหน่อยคือสองส่วนแรก ซึ่งเป็นอัตนัย
คะแนนส่วนที่สองนี่...วันนี้ไปถามมะเหมี่ยวมา มะเหมี่ยวเองก็ตกมีนไป 1 คะแนน!
พริกได้เกินมีนมา 2 คะแนน!
ก็...ไม่รู้สิ อาจารย์นทีทิพย์ตรวจข้อสอบโหดมั้ง...ทั้งๆ ที่้ข้อสอบก็ไม่ได้ยากนะ เราว่าเราก็ทำได้หมด - -" (ตัวอย่างข้อสอบก็อธิบายว่าในช่วงที่เกิด Action potential พวก Ion channels มันเปิด ปิด ยังไง มีผลต่อ Membrane potential ยังไง แล้วก็ให้อธิบายว่า Refractory period เกิดจากอะไร ซึ่งเราอธิบายละเอียดกว่าที่อาจารย์สอนในห้องอีกนะ - -")

ส่วนที่ 3 ที่ได้ 18 คะแนนเพราะเป็นปรนัย จำเอาล้วนๆ~

100% ของคะแนนวิชานี้ นอกจากสอบแล้วยังมีได้มาจาก Conference และการเข้าฟัง Special Lecture อีก

ส่วนเรื่องไปจุฬาฯ...เราไปครั้งแรกวันที่ 14 ซึ่งเป็นวันที่เค้าหยุดให้อ่านหนังสืออยู่แล้ว
ครั้งที่สองก็วันที่ 21 ซึ่งชนกับเรื่อง Cell-microbe interaction กับ Immune response (สอบวันที่ 3 สิงหานี้) ซึ่งก็ไม่มีปัญหาอะไรอะ สองเรื่องนี้ ขำๆ (ขำออกหรือขำไม่ออก เดี๋ยวก็รู้กัน :p)


ก็...ขอบคุณมากเลยที่เป็นห่วง
เราไม่เป็นอะไรมากหรอก แรกๆ พอเห็นคะแนนก็ช็อกไปตามประสา ช่วง 2 ปีหลังของชีวิตมันได้คะแนนเยอะๆ มาซะจนเคยตัวอะ พอมาเจอคะแนนเกาะมีนอีกครั้งนึงก็ตกใจ
แต่พอได้สติก็ไม่เป็นไร มันก็คงมีที่มาที่ไปสักอย่าง หรือหลายอย่างแหละที่ทำให้ได้คะแนนเท่านี้ การไปจุฬาฯ ครั้งสองครั้งไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้เราคะแนนต่ำขนาดนี้

กลับกัน เรารู้สึกดีมากที่ได้ไปจุฬาฯ และรู้สึกขอบคุณนุ้กกับนนมากที่ให้โอกาส ให้เราได้รู้จัก Neuroscience และโลกของจิตวิทยามากขึ้นไปอีกนิด แถมยังได้รู้จักกับอาจารย์น้อง ได้เปิดโลกของเราให้กว้างขึ้นไปอีก
แล้วก็ขอบคุณมากที่...ภาษาแลนด์มาร์กใช้คำว่า "แบ่งปัน" การสอนให้กับเรา ให้เราได้มีโอกาสสอนวิทยาศาสตร์ให้กับกลุ่มผู้เรียนที่มีทั้งคนที่สนใจและไม่สนใจวิทยาศาสตร์ปนๆ กันไป ซึ่งก็เป็นอะไรที่ท้าทายไปอีกแบบ และได้ออกจากพื้นที่คุ้นชิน ที่แต่เดิมได้แต่สอนในสิ่งที่อยู่ใน Campbell มาสอนเรื่องที่เราเองก็ไม่ได้มีความรู้มากมายนัก ก็เป็นอีกครั้งที่เราได้นุ้กดึงออกมาทำอะไรๆ ที่ไม่เคยทำ

เราไม่เคยเสียใจที่ได้ไปจุฬาฯ
ได้คะแนน Cell Science ไม่ดี อย่างร้ายแรงที่สุดก็แค่ Regrade
แต่ถ้าไม่ได้ไปจุฬาฯ ก็คือไม่ได้ไปจุฬาฯ และเราคงนึกเสียใจถ้าไม่ได้ไปจุฬาฯ ไม่ได้ใช้ชีวิตให้คุ้มค่า ไม่ได้ฉกฉวยวันเวลาอันมีค่านี้เอาไว้

สำหรับเรา มันคงน่าเบื่อน่าดูที่จะต้องมานั่งอ่านหนังสือสอบในวันที่ 14 และนั่งเรียน Immune ในวันที่ 21
ไปเปิดโลก เปิดกะลาที่ครอบเราไว้ มันน่าสนุกกว่ากันเป็นไหนๆ :)

Halley

ป.ล.1 ไหนๆ ก็ไหนๆ ขอบคุณอีกสองเรื่องได้มะ? ขอบคุณมากเลยที่กลับจากสุวรรณภูมิเป็นเพื่อนเรา (เมื่อวันที่ไปส่งนน) และนั่งรถตู้กลับจากเพชรบุรีเป็นเพื่อนเรา (เมื่อวันที่ไป Survey ค่ายรับน้อง) นุ้กอาจคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับเรา มันโคตรยิ่งใหญ่และมีความหมายมาก
ป.ล.2 ตอบยาวอีกละ - -"
ป.ล.3 คนเลือดกรุ๊ปบี: ถ้าให้พูดต่อหน้าจะติดๆ ขัดๆ แต่ถ้าให้เขียนจดหมายหรืออีเมล์จะซึ่งกินใจ
ป.ล.4 หวังว่าคงไม่ได้รออ่านเมล์นี้อยู่หรอกนะ ถ้ารออยู่ก็ขอโทษทีที่ทำให้นอนดึก - -

2009/7/29 Halley <supakijp@gmail.com>
[Quoted text hidden]
[Quoted text hidden]


ขอบคุณเพื่อนทุกคนที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเดินทาง ขอบคุณที่ทำให้การเดินทางครั้งนี้ไม่โดดเดี่ยว ไม่เหงาจนเกินไปนัก
ขอบคุณที่ทำให้ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นอากาศธาตุ ขอบคุณที่ทำให้รู้สึกว่าเป็นสารเนื้อเดียว (homogeneous) กับทุกคน
ขอบคุณที่ยอมรับในความเป็น "ฮัลเลย์" ได้
ขอบคุณที่เป็นเพื่อนกับเรา

และขอให้โลกนี้ จงเต็มไปด้วยมิตรภาพ

Halley
หมู่บ้านหลักสองนิเวศน์